Parenting

8 สิ่งเตรียมตัวสอนลูก ก่อนเริ่มเรียนอนุบาล



2-3 ปีที่ผ่านมากลายเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนต้องปรับตัวกับ New Normal สำหรับเด็กโตหน่อยที่พอจะคุ้นเคยกับผู้คนและสถานที่ต่างๆจะพอเข้าใจการปฎิบัติตนเองบ้างแล้ว แต่สำหรับเด็กน้อยที่กำลังเตรียมตัวไปโรงเรียนเป็นครั้งแรกในชีวิต กับการอยู่บ้านที่แสนยาวนานและแทบไม่ได้ไปที่ไหน เด็กน้อยกลุ่มนี้ต้องเตรียมตัวและเตรียมใจหนักกว่าใคร

สำหรับวันแรกที่พวกเขาจะได้ไปโรงเรียน เมื่อพ่อแม่ยังพอมีเวลา เตรียมตัวสอนลูก ก่อนเริ่มอนุบาล ให้ลูกน้อยก่อนถึงวันที่พร้อมจะส่งพวกเขาไปโรงเรียน สิ่งเหล่านี้จะช่วยเด็กน้อยและคุณครูได้มากกว่าที่คิดเชียว

1 ปฏิบัติตามคำสั่งง่ายๆ

คุณครูอนุบาลจะไม่คาดหวังให้เด็กๆเข้าโรงเรียนและรู้วิธีการอ่านหรือผูกเชือกรองเท้าแล้ว แต่คุณครูอยากให้เด็กๆเข้าใจคำสั่งง่ายๆ เช่น “เข้าแถว” “มารวมตัวกัน” เป็นต้น

2. แต่งตัวให้ตัวเอง

นึกภาพคุณครูที่พยายามจัดการเด็กๆอายุ 5 ขวบ 10กว่าคนให้แต่งตัวภายในเวลา 15 นาทีดูสิ แค่คิดก็เหนื่อยแล้ว การสอนลูกของคุณให้สวมกางเกงเป็น ใส่เสื้อเองและใส่ถุงเท้าเองได้จะทำให้คุณครูชื่นชมเด็กคนนั้นเลยล่ะ

3. ดูแลสิ่งของของตัวเอง

มันอาจเป็นเรื่องที่ยากลำบากที่จะให้เด็กน้อยดูแลของตัวเองและไม่ทำมันหาย แต่คุณครูอนุบาลจะชินกับคำบ่นจากผู้ปกครองบ่อยที่สุดก็คือ “ทำไมลูกของฉันถึงทำหมวก รองเท้า และขวดน้ำหาย” การติดฉลากทรัพย์สินของบุตรหลานจะช่วยได้ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องลูกๆถึงความสำคัญของการดูแลสิ่งของของตนเองด้วย เริ่มจากการฝึกที่บ้านก่อนก็ได้ โดยการเก็บของเล่นหลังจากเล่นแล้ว การถอดรองเท้าไว้ในจุดที่กำหนด เป็นต้น

4. นอนหลับฝันดี

สิ่งหนึ่งที่คุณครูมักจะเห็นบ่อยๆก็คือพวกเด็กๆเหนื่อยกันตลอดเวลา แต่ก็พอจะเข้าใจได้ว่ากิจกรรมแต่ละวันจะทำให้เด็กๆเหนื่อยกันแค่ไหน แถมบางคนยังมีไปเรียนพิเศษเพิ่มหลังเลิกเรียนอีก ทางออกเดียวสำหรับเรื่องนี้คือการนอนหลับให้เต็มอิ่ม หากพยายามอย่าจัดตารางกิจกรรมนอกหลักสูตรมากเกินไป หรืออย่างน้อยก็ในช่วงสัปดาห์แรกของการเปิดเทอม ก็จะช่วยให้เด็กๆได้ผ่อนคลายและพักผ่อนอย่างเพียงพอด้วย

5. รู้จักชื่อตัวเอง

คุณครูจะเลิฟมากถ้าลูกของคุณมาโรงเรียนและรู้วิธีสะกดและเขียนชื่อตัวเองแล้ว! แต่หากลูกของคุณจำชื่อได้เมื่อวางป้ายชื่อไว้และสามารถชี้ไปที่ป้ายชื่อของตัวเองได้ ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีแล้ว มันจะทำให้ชีวิตคุณครูง่ายขึ้นเยอะเลย

6. รู้จักวิธีอ่านหนังสือ

อย่าเพิ่งตกใจไป คุณครูไม่ได้คาดหวังให้เด็กๆอ่านหนังสือได้ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะยังไม่รู้จักคำศัพท์ทั่วไปมากนัก ไม่เป็นไร แต่ลูกของคุณควรรู้วิธีถือหนังสือโดยให้หงายขึ้น วิธีพลิกหน้าจากขวาไปซ้าย และวิธีปฏิบัติต่อหนังสือด้วยความเคารพ (หนังสือของครูถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์นะ) ผู้ปกครองมักจะถามคุณครูว่า “ฉันจะสอนให้ลูกอ่านได้อย่างไร” สิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทำได้เพื่อปรับปรุงการอ่านของลูกๆก็คือการอ่านหนังสือให้ลูกฟังทุกวัน อ่านนิทาน อ่านฉลากบนกล่องขนม ชี้ป้ายถนนและป้ายร้านค้า อ่าน อ่าน อ่านให้ลูกฟังไปเถอะ อะไรก็ได้!

7. สามารถอยู่ห่างจากพ่อแม่เป็นระยะเวลานานได้

เด็กหลายๆคนจะมีประสบการณ์การพลัดพรากจากพ่อแม่เป็นครั้งแรกในชั้นอนุบาลวันแรก และความรู้สึกนี้สามารถนำไปสู่ความวิตกกังวลในการพรากจากกันอย่างรุนแรงได้ เด็กหลายคนจะยังคงร้องไห้ทุกวันในสัปดาห์แรกของการเรียน การให้เด็กๆมีโอกาสได้ทำกิจกรรมที่ไม่มีคุณพ่อคุณแม่ในช่วงเวลาสั้นๆบ้าง จะช่วยเปลี่ยนความรู้สึกที่ต้องพลัดพรากได้ ก่อนจะไปสู่การไปโรงเรียนอนุบาล แค่จำไว้ว่าวันที่เด็กๆอยู่โรงเรียนเป็นวันที่นานมากสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล มันคือการปรับครั้งใหญ่ ผู้ใหญ่เองต้องอดทนไปกับพวกเขาและกับตัวเอง ทุกอย่างจะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

8. สนุกกับการอยู่ในโรงเรียนอนุบาล

สนุกกับลูกของคุณให้มากที่สุดในขณะที่พวกเขายังไร้กังวลและไร้เดียงสา และพยายามอย่าเครียดกับสิ่งที่พวกเขา “ไม่ได้เตรียมไป” เมื่อเริ่มเข้าโรงเรียน คุณครูเองไม่อยากได้ยินนักเรียนถามว่าเมื่อไหร่ถึงจะเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ซักที เด็กน้อยๆไม่ควรมาคิดรอคอยให้ถึงวันหยุด เพราะทุกวันควรจะเป็นวันที่สนุกของพวกเขา

คุณครูอนุบาลเองก็ชอบสอนโรงเรียนอนุบาลเหมือนกัน พวกคุณครูรักและสนุกกับการสอนลูกน้อยของคุณมาก ถ้าเรายังต้องอยู่กับ New Normal ไปอีกซักพัก การสอนแบบเดิมต้องมีการปรับเปลี่ยน ความห่วงเพิ่มเติมเรื่องสุขอนามัยในตอนนี้ไม่เหมือนเมื่อก่อนแล้ว มีหลายสิ่งที่คุณครูต้องวางแผนที่จะรับมือกับมันมากมาย คงจะดีมากถ้าคุณพ่อคุณแม่จะช่วยเตรียมตัวให้เด็กๆพร้อมก่อนจะถึงวันได้เปิดเทอม และได้เจอกับคุณครู

สามารถอ่านบทความอื่นๆของ MOMSCREAM ได้ที่ Facebook Momscream

ลูกแฮปปี้ แต่..แม่ระวังจนขาดการใช้ชีวิตไปไหม?

8 ข้อหลักเลี้ยงคุณลูกสาว ให้โตมาเป็นตัวของตัวเองได้ ด้วยศักยภาพทั้งหมดที่เธอมี!

ทำยังไงให้ลูกเป็นเด็กอยากหาความรู้?

Tags: , ,
20 April, 2022
Parenting